วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่15กุมภาพันธ์ 2554


-วันนนี้อาจาย์สรุปความรู้จากที่ได้เรียนมาและอาจารย์ก็ได้ชี้แจ้งว่าต้องส่งงานอะไรบ้างขาดงานชิ้นไหนพร้อมกับให้คติสอนใจมากมายและอาจารย์ก็ได้อวยพรให้นักศึกษาสอบผ่านทุกวิชา

-ความรู้สึกในวันี้ดิฉันมีความสุขมากที่เห็นอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะบรรยายกาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความอบอุ่น เหมือนทุกคนอยู่ครอบครัวเดียวกัน

สะท้อนผลการทำงาน

เรื่องประชาสัมพันธ์เกียวกับการช่วยกันปลูกต้นไม้


ชื่อ น้องน้ำมนต์ อายุ6ขวบ

ปัญหาในการทำงาน
-น้องจำเนื้อหาไม่ได้
-ใช้วลานาน
-น้องยังไม่คุ้นเคยเลยไมค่อยกล้าแสดงออกเท่าไร

ประสบการณ์ที่ได้รับ
-ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับเด็ก
-ได้รับประสบการณ์ตรง
-ได้รู้ถึงวิธีการการสนสทนากับเด็ก
-ได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม

การนำไปใช้
-สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการพูดของเด็กได้




นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 8 กุมพาพันธ์ 2554

1) วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาวัดความรู้ดังหัวข้อต่อไปนี้
-การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนควรมีลักษณะอย่างไร
-มุมที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
-มุมบ้าน
-มุมหมอ
-มุมร้านค้า
-มุมจราจร

2)ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
หลักและเกณฑ์ให้นักศึกษาไปคิดต่อ
1เริ่มจากตัวเด็กก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือสนใจ
2สอนแบบธรรมชาติ
3สอนอย่างมีความหมาย
4สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
5สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน
6ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา
7เด็กอยากอ่านก็ครให้อ่านเด็กแยกเขียนก็ควรให้เขียน

3)เทคนิคที่ไม่ควรนำมาใช้ในการสอนภาษา
1เน้นความจำ
2เน้นการฝึก
3ใช้การทดสอบ
4สอนแต่ละลักษณะแยกจากกัน
5การตีตราเด็ก
6ใช้แบบฝึกที่เป็นกระดาษหรือดินสอเป็นจุดประ
7ไม่ยอมรับความผิดพลาด
8สอนภาษาเฉพาะในเวลาที่กำหนด
9ช่วงการสอนภาษาจะจำกัดเวลา
10จำกัดวัสดุอุปกรณ์อาจเหลือเพียง ดิรสอ หนังสือแบบเรียน


4)เทคนิคที่ควรนำมาใช้ในการสอนภาษา
1สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
2สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก
3สอนจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
4บรูณาการเข้ากับสาขาวิชาเรียน
5ให้โอกาสเด็กทุกคนเรียนรู้ภาษา
6ใช้ความคิดและถ้อยคำของเด็ก
7ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
8ให้โอกาสเด็กอย่างมากมาย
9จัดหาเครื่องเครื่องใช้ต่างๆ
10ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจ และสนุกสนาน

5)อาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพลงเกาะสมุยแล้วให้นักศึกษาเขียนส่งดังนี้
-นักศึกษาฟังเพลงเกาะสมุยแล้วรู้สึกอย่างไร
-เนื้อเพลงเกษะสมุยมีเนื้อหาว่าอย่งไร

6)ความรู้สึกในการเรียนการสอนวันนี้ ได้รับความรู้และเนื้อที่ดีมากสามาถเข้าใจได้ง่าย

นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศสาตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 1 กุมพาพันธ์ 2554
1)วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครูเด็กเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเองนับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
2)ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม.
2.1 อ่าน-เขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนืทานเรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะแนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกดเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ใยการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทุกคำ
-มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการณ์อย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดทั่วกัน
-ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆ ผลัดกันอ่านด้วยการออกเลียงดัง
-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อยสอนให้รู้จักวิธีการใช้นักษาและเปิดหนังสืออย่างถูกวิธี
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุยชักถามจากประสบการณ์เดิมที่ครูสามารถวัดความสามรถการอ่านของเด็ก
-ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยื่มไปอ่านที่บ้านได้
-ให้เด็กได้ขีดเขียน ขีดเขี่ย วาดภาพสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์
-ครูตรวจสอบการเขียนของเด็กแต่ละคนดยครูอาจแนะนำการเขียนอย่างถูกต้อง

2.2 ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก คำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก ชื่อคน อาหาร สิ่งที่อยู่รอบตัว
ขั้นสอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้ หรืออ่านได้ถูกและเรียนรู้ที่อยู่ตำแหน่งของตัวอักษร
ขั้นสาม เด็กแยกแยะตัวอักษรตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษรเริ่มอ่านจารซ้ายไปขาวซึ่งเป็นพื้นฐานทางด้านการอ่นของเด็กปฐมวัย
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน

3)การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กวัยก่อนเรียน
-ระยะแรก เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ที่ใช้แทนอักษรและที่ไม่ใช้อักษร เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเองแทนอักษร
-ระยะที่สอง ลักษณะสำคัญคือ การเขียนตัวอักษรที่ต่างกัน สำหรับคำพูดแต่ละคนพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความ โดยการเขียนตัวอักษรที่ต่างกันดยมีลำดับสจำนวนตามที่เขาคิดไว้
-ระยะที่สาม เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียงในขณะเขียน และการเขียนใก้ลเคียง


นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 25 มกราคม 2554

1)วันนี้อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันร้องเพลงดังนี้

เพลง สวัสดี
สวัสดี สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน
เธอและฉัน พบกันสวัสดี

เพลง ชื่อของเธอ
ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก ครูถามทักนักเรียนเข้าใหม่
ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้ ชื่ออะไรขอให้บอกมา
เพลง แปรงฟัน
แปรงสิ แปรง แปรง ฟัน ฟัน หนู สวย สะอาดดี
แปรงขึ้น แปรงลง ทุกซี่ สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน

เพลง แมงมุมลายตัวนั้น
แมงมุมลายตัวนั้นลายตัวนั้น ฉันเห็นมันชนซามเหลือทน
วันหนึ่งมันเปียกฝน ไหลลงจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลิบตา
มันรับไต่ขึ้นฝา หันหลังมาทำตาลุกวาว

เพลง บ้านของฉัน
บ้านของฉัน อยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ลุง ป้า ปู่ ย่า ตา ยาย
มีทั้ง น้า อานี่ และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

เพลง อย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ




2)อาจารย์ให้นักศึกษาให้นักศึกษาถอดรหัสรหัสคำและให้อ่านเรื่องราวเกี่วยกับผมแกละ
3)อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับ ภาษาธรรมชาติ การสอนภาษโดยองค์รวม
-โคมินิอุส เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยสิ่งที่เด็กค้นเคยในชีวิตอยู่แล้วเด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจำวัน
-กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ ความรู้จะเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียนซึ่งครูจะเห็นจากการที่เด็กๆอาศัยภาษาเป็นการสื่อสารในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างมีความหมายครูใช้ภาษาทุกทักษะในการสื่อสาร การฟัง พูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การทำจดหมายข่าว การเขียนบทความ การเขียนหนังสื่อ
-จูดิท นิวแมน การสอนโดยแนวคิดองค์รวม มีลักษณะเป็นปรัชญาความคิดของผู้สอนโดยการก่อตั้งหลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
-จอห์น ดิวอี้ การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์โดยตรงการลงมือกระทำด้วยตนเองทฤษฎีที่สำคัญเป็นการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู ครูผู้สอนควรบูรรรการด้สนภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตรซึ่งสรอดคล้อองกับแนวคิดของนักทฤษฎี

4)ความรุสึกและบรรยายกาศในการดรียนการสอน วันนี้มีความสนุกสนานเพลิดเพลินมาก ได้ทั้งความรู้และเสียงหัวเราะเพื่อนทุกคนต่างมีแต่ความสุข


นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศสาตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันอังคารที่18มกราคม 2554

1)วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปของครอบครัวของฉันพร้อมกับบอกชื่อบุคคลในครอบครัวจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาแสดงตามหัวข้อที่อาจารย์ให้นักศึกษาทำดังนี้
-คำคล้องจอง
-หนูรู้สึกยังไง
-ครอบครัวของฉัน
-ฟังและปฎิบัติ
-คำตรงกันข้าม
-กระซิบต่อกัน
-วาดภาพแล้วนำมาเล่าภาพต่อกัน
-วาดไปเล่าไป
-ร้องเพลง

2) วันนี้กลุ่มของดิฉันได้ออกไปร้องเพลงว่าว พอนักศึกาแสดงเสร็จอาจารย์ก็ได้สรุปเกี่ยวกับหัวข้อที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มว่ามี
ประโยชน์ต่อเด็กอย่างไรบ้างและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นตามหัวข้อที่ได้ทำกิจกรรมไปถ้าใครทำเสร็จก็ให้ส่ง

3)ความรู้สึกและบรรยายกาศในการเรียนการสอนในวันนี้ มีความสนุกสนานมากเพื่อนในห้องมีความรักความสามัคคีร่มมือกัน การเรียนการสอนราบรื่นไปด้วยดีได้ทั้งความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่สารถนำไปใช้กับเด็ก












นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาชาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันเสาร์ที่ 15มกราคม 2554 ( เรียนชดเชย )

1) วันนี้อาจารย์ ได้สอนเกี่ยวกับ โครงสร้างของภาษามีดังนี้
- ระยะแยกแยะ อายุ6เดือน-1ปี ในระยะนี้ เด็กจะเริ่มแยกแยะสิ่งที่เขาได้ยิน เช่น เสียงพุโของแม่
- ระยะเลียนแบบ อายุ 1-2ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมโดดยเฉพาะเสียฃของคนที่ใกล้ชิดเป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงที่เด็กเปล่งออกมาจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินของผู้อื่น
- ระยะขยาย 2-4ปี เด็กจะเริ่มหัดพุดโดยการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำโดยระยะแรกจะพูดโดยเรียกชื่อของคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวรวมทั้งคำคุณศัทพ์ที่ผู้ใหญ่พูดกัน
- ระยะโครงการ อายุ4-5ปี การรับรู้หรือการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมากซึ่งทำให้เด็กได้สังเกตการใช้ภาของบุคลรอบข้างและนำมาทดลองใช้ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น จากการฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ การเล่นกับเพื่อน หรือพี่น้องการพูดคุยกับผู้ใหญ่ช่วยให้เด็กเก็บข้อมูลทางภาษาเพิ่มมากขึ้น
- ระยะตอบสนอง อายุ5-6ปี ได้พัฒนาทางภาษา ได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มรู้จักการใช้ประโยคเป็นระบบตามหลักไวยกรณ์
-ระยะสร้างสรรค์ อายุตั้งแต่6 ปีขึ้นไป เด็กจะสามารถพัฒนาทางภาษาดีมากขึ้น สารถจดจำทางภาษามากขึ้นสำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวนความหมายลึกซึ้งได้เด้กจะพัฒนาวิเคราะหืและสร้างสรรค์ทักษทางภาษาได้สูงขึ้น
- สรุป การเรียนภาษาเป็นกระบวนการต่อเนื่องเด็กจะเรียนภาษาพูดและกฎเกณฑ์ต่างๆ จากการฟังเสียง








นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่9

วันอังคารที่ 11 มกราคม 2554




1)วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำสมุดเล่มเล็กมาส่งพร้อมกับใบงานฉันชอบกิน จากนั้นอาจารย์ก็ได้ก็ได้ยกตัวอย่างผลงานที่นักศึกษาแต่ละคนทำมาส่งพร้อมกับบอกข้อเสนอแนะของผลานนักศึกษาแต่ละคนว่าเราควรทำส่วนไหนเพิ่มเติมสิ่งที่สำคัญคือตัวหนังสือควรเขียนให้มีหัว อ่านได้ชัดเจน

2)จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอปริศนาคำท้ายให้เพื่อนในห้องฟังและอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาในห้องแสดงความคิดเห็นผลงานของเพื่อนว่ามีข้อดี ข้อบกพร่องอย่าไร

3)วันนี้กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอปริศนาคำท้ายเป็นหนังสือ big book เพื่อนในนห้องก็บอกว่ากลุ่มของดิฉันทำงานได้สวยงามมากไม่มีข้อบกพร่อง จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกกลุ่มของดิฉันว่านำปริศนาคำท้ายไปเล่าให้เด็กฟัง

4)อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมส่มเสริมทักษะทางภาษาดังนี้

- โฆษณา
- ประชาสัมพันธ์
- ประกาศ
- ของรักของหวง
- เล่าเรื่องจากภาพ
- เล่าประสบการณ์

5)ความรู้ที่ได้ในวันนี้
- เด็กปกติทุกคนทั่วทุกแห่งจะสามารถเรียนภาในสังคมของตน เด็กจะมีความจำกัดสรรถภาพทางสมอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามเด็กอายุสามถึงสี่ปีสามารถเรียนความซับซ้อนของประโยคในภาษาของตนได้แล้ว ดูเหมือนว่าเด็กจะเรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาที่ตนได้ยิน การเรียนรู้ภาษาของเด็กนั้นเด็กจะเรียนรู้การฟังคนอื่นพูด เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินและพยายามแสดงออกถึงความตั้งใจในสิ่งที่เขาสามารถทำได้
- ภาษามีอธิพลต่อการเรียนรู้ของคนเรา ความคิดจะตองใช้ภาษา เราต้องรุขอบเขตของภาษาในการกำหนดความคิดและการกระทำของคน ภาษามีบทบาทอันสำคัญในกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา คือการสร้างมโนทัศน์
- ภาษาจะต้องมีการแสดงออกทางด้านสื่อสาร เช่น การย้ำ ปฏิเสธ ร้องขอ
- ภาษามีความแตกต่างกันในหลายลักษณะ ไม่มีใครที่ชอบเหมือนกันทุกอย่าง แต่ละคนมีภาษาพูดของตนเอง เรียกว่า (ภาษาถิ่น)

6)บรรยาศกาศในการเรียนการสอนครั้งนี้มีความเพลิดเพลินได้ทั้งความสนุกและความรู้










นางสาวสุมา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันอังคาร 4 มกราคม 2554

1)วันนี้อาจารย์ได้แจกใบงานให้นักศึกษาทำโดยให้นักศึกษาแต่ละคนเรียงตัวอักษรพยัญชนะของไทย โดยให้นักศึกษาเติมตัวเลขในช่องวงกลม

2)จากนั้นอาจารย์ได้สาธิตวิธีการพับกระดาษเป็นสมุดเล่มเล็กให้นักศึกษาดู พร้อมกับให้นักศึกษาปฎิบัติตามและอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำสมุดเล่มเล็กของแต่ละคน โดยที่ทำเป็นเรื่องอะไรก็ได้ แล้วนำมาส่งสัปดาห์ต่อไป

3)จากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดถึงดังต่อไปนี้
3.1 ความหมายของภาษา
- ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส(code)ใช้แทนสัตว์สิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการและเหตุการณ์ เช่น เด็ก กิน ขนม
- ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนทัศน์เกี่ยวกับโลกหรือ ประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความเศร้าโศก
- ภาษาเป็นระบบโดยมีระบบเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กิริยา กรรม

3.2 องค์ประกอบของภาษา
- เสียง
- การอ่าน
- สัญลักษณ์การอ่าน
- ระบบเสียง
- ตัวอักษร
- ไวยกรณ์
- คำ
- ประโยค
- คำศัพท์
- ความหมาย
- ประโยคข้อความ

4)ความหมายของจุดมุ่งหมายการสอนภาษา
- การใช้ภาษาเน้นวิธีการสื่อสารอย่างมีความหมาย
- การฟังและประสบการณ์ การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
- การพูดและประสบการณ์การเขียนเน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย

5)ลักษณะของภาษา
เนื้อหาของภาษาได้แก่ หัวข้อ เนื้อเรื่อง หรือความหมายของสารจะใช้สื่อกับผู้อื่นประกอบ ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์เนื้อหาของภาษา

6)บรรยายกาศในการเรียนการสอน วันนี้เพื่อนบอกว่าสนุกสนามากได้ทำกิจกรรมในชั้นเรียน ได้รู้ว่าการทำหนังสือเล่มเล็กเราก็สามารถทำเองพร้อมกับประหยัดในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา











นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 21 นวาคม 2553

วันนี้สอบกลางภาคนะค่ะ


นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คระศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553






1)วันนี้อาจารย์อาจารย์ติดธุระจึงได้มอบหมายให้อาจารย์ เหมียว มาสอนแทน อาจารย์เหมียวจึงให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาเอากระดาษไปทำปริศนาคำท้ายเป็นหนังสือ big book พร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ

2)จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษากลับไปทำปริศนาคำท้ายให้เรียบร้อย และนำมาส่งอาจารย์สัปดาห์ต่อไป

3)บรรยาศกาศในการเรียนการสอนวันนี้ เพื่อนในห้องมีความรักสามัคคีกัน และช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกันทุกคนต่างจับกลุ่มทำงานช่วยกันพร้อมกับความสนุกสนาน


นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันอังคารที่30พฤศจิกายน 2553




1) วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ไม่ได้นำเสนอ VDO เด็กในสัปดาห์ที่แล้วออกมานำเสนอให้เสร็จเรีบยร้อย

2) อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอปริศนาคำท้าย จาก power point ที่แต่ละกลุ่มได้จัดทำมา

3) วันนี้กลุ่มดิฉันได้นำเสนอปริศนาคำท้ายเกื่ยวกับเรือง หวี และอาจารย์ก็ได้บอกข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวรรคคำ การเรียบเรียงคำอ่าน คำพูด การใช้คำให้เหมาะสมกับคำสรรพนามของสิ่งของต่าๆที่ดิฉันนำเสนอ จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องของแต่ละกลุ่มสัปดาห์หน้านำมาให้อาจารย์ดู
4)จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละคนลิงค์รายชื่อให้อาจารย์

5) ความรู้สึกและบรรยาศกาศในการเรียนการสอนในวันนี้ สิ่งแรกคือความสนุกสนานในการเรียนเพราะเพื่อนแต่ละกลุ่มที่นำเสนอพูดยังไม่คอยถูกเท่าไรแต่อาจารย์ก็คอยแนะนำการพูดปริศนาคำท้ายและควรพุดอย่างไรจึงจะถูกต้องและอาจารย์ยังเปดโอกาศให้นักศึกษาเสมอ สิ่งที่ดิฉันประทับใจมากในวันนี้คือความเมตตาที่อาจารย์ผู้สอนมีให้นักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน



นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 23พฤศจิกายน 2553

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะว่าอาจารย์ผู้สอนติดธุระค่ะ


นางสาวสุมนา ไชยหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาสาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 16พฤศจิกายน 2553
1) วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอVDOเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองได้รับดังนี้
-ประกาศ
-โฆษณา
-เล่าเรื่องจากภาพ
-ของรักของห่วง
-เล่าประสบการณ์
-ประชาสัมพันธ์

2)วันนี้กลุ่มดิฉันได้นำเสนอเรื่องประชาสัมพันธ์แต่มีปัญหาในการนำเสนอนิดหน่อยก็ราบรื่นไปด้วยดี

3)วันนี้อาจารย์ก็ได้อธิบายถึงภาษาหมายถึงอะไรมีความสำคัญอย่างไรและก็ได้ยกตัวอย่าง เช่น การขี้จักยาน ถ้าเราฝึกบ่อยๆก็จะมีความเชี่วชาญสามารถนำไปเชื่อมโยงสิ่งใหม่ๆได้

4)อาจารย์ก็ได้ถามนักศึกษาว่าพบปัญหาอะไรบ้างในการติดต่อสื่อสารกับเด็กขณะที่ดำเนินการทำงาน เพื่อนในห้องบอกว่า
-เด็กจำเนื้อหาไม่ได้
-เด็กไม่ค่อยพูดกับนักศึกษา

5)อาจารย์ก็ได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาดังนี้
-นักศึกษาสนิทกับเด็กมากน้อยเพียงใด
-การจัดการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้เด็กกล้าแสดงออกหรือไม่
-ตัวเด็กเองไม่กล้าแสดงออก
-การพูดคุยเป็นแบบทางการมากเกินไป
-เด็กอาจไม่เคยมีประสบการณ์
6)สะท้อนการทำงาน
เรื่องประชาสัมพันธ์เกียวกับการช่วยกันปลูกต้นไม้
น้องน้ำมนต์
ปัญหาในการทำงาน
-น้องจำเนื้อหาไม่ได้
-ใช้วลานาน
-น้องยังไม่คุ้นเคยเลยไมค่อยกล้าแสดงออกเท่าไร

ประสบการณ์ที่ได้รับ
-ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับเด็ก
-ได้รับประสบการณ์ตรง
-ได้รู้ถึงวิธีการการสนสทนากับเด็ก
-ได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม

7) ความรู้สึกในการเรียนการสอนในวันนี้ ได้ความรู้มากเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกับเด็กมีความสนุกสนานในการเรียนได้เห็นถึงความน่ารักของเด็กๆเพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอVDOได้ดีพอสมควรและอาจารย์ก็คอยให้ข้อเสนอแนะในการทำVDOว่าควรทำอย่างไรให้มีความน่าสนใจ




นางสาวสุมนา ไชหงษ์ 5211208599
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์